วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

>>อยากให้อ่าน

แด่ผู้บริหาร (หลัก 4 ถึง)

หนึ่งมือถึงสองใจถึงฟังตระหนัก
สามเงินถึงพึงฟูมฟักดุจมนต์ขลัง
เมื่อสามถึงครบถ้วนมีพลัง
ถึงที่สี่คือบารมีมีมาเอง
...........................................
แด่มนุษยชาติ (4 อย่า)

อย่าทะเลาะกับนายเหมือนก่อไฟเหนือลม
อย่าพกของคมไม่มีฝัก
อย่าปล่อยคนรักให้อยู่คนเดียว
อย่าเที่ยวพูดเรื่องไม่จริงกับคนอื่น
...........................................
แด่ศิษย์ (3 อย่า)

อย่าเป็นศัตรูกับครู
อย่าดูถูกเพื่อน
อย่าเรียนโดยไม่คิด
...........................................
แด่ปาก ( 3 จง)

จงพูดกับน้อยคน
จงพูดให้น้อยเรื่อง
จงพูดให้น้อยคำ
...........................................
แด่คนแก่

ตอนกลางวันก็จะคิดว่าเมื่อไรจะค่ำ
เมื่อเวลากลางคืนก็จะคิดว่าเมื่อไรจะสว่าง
...........................................
แด่ผู้กล้า

ก่อนขึ้นหลังเสือ ควรเรียนรู้วิธีลงจากหลังเสือเสียก่อน
และอย่าลืมว่าการลงจากหลังเสือจะง่ายมากถ้ารู้วิธีหักเขี้ยวเสือ
แต่มีผู้กล้าน้อยคนนักที่จะเรียนรู้วิธีหักเขี้ยวเสือได้สำเร็จ
...........................................
คาถาแคล้วคลาด

(ท่องหลังจากลงเวลาปฏิบัติราชการทุกวันศักดิ์สิทธิ์นักแล)
“เวรนอน สอนเช้าแล้วเราจะปลอดภัย ได้รับคำสั่งใดๆ
ถ้าไม่ใช่ประธานและเลขาฯ อย่ากังวล”
“เวรนอน สอนเช้าแล้วเราจะปลอดภัย ได้รับคำสั่งใดๆ
ถ้าเป็นประธานและเลขาฯ อย่าทิ้งงาน”
...........................................
สำหรับพ่อ-แม่

เมื่อท่านจะมีลูกท่านกำลังจะมีเจ้านายผู้ยิ่งใหญ่
แล้วท่านต้องเป็นทาสผู้ยิ่งใหญ่เมื่อลูกของท่านเกิดมา
...........................................
สำหรับคู่รัก

เมื่อคิดจะแต่งงาน ก็จงลืมคำว่าเสรีภาพ
...........................................
แด่นักบริหาร

ถ้าท่านทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก
ท่านก็เป็นนักบริหาร
ถ้าท่านทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
ท่านเป็นได้แค่นักการ
...........................................
แด่คุณครู

ขอบูชาคุณครูผู้สั่งสอน
ด้วยบทกลอนพรรณาภาษาศิลป์
กราบคุณครูผู้เมตตาเป็นอาจิณ
ดุจวารินดับร้อนช่วยผ่อนคลาย
ข้อข้องใจใดใดได้ไต่ถาม
ทุกโมงยามเหน็ดเหนื่อยมิรู้หาย
เฝ้าสอนศิษย์ห่วงศิษย์มิรู้วาย
ไม่กลับกลายผ่อนผันเนิ่นนานปี
...........................................
แด่ครูดีเด่น

ท่านเป็นแสงแวววาวยามฟ้าหม่น
ท่านเป็นเพชรค่าล้นหลากหลายสี
ท่านเป็นครูที่น่ารักและแสนดี
ทั้งท่วงท่าพาทีช่างงดงาม
ยามท่านสอนเอาใจใส่ในการสอน
ทุกบทตอนท่วงท่าน่าเกรงขาม
ในห้วงลึกแห่งใจท่านแสนงาม
ในเมื่อยามสอนศิษย์ติดตรึงตา
ท่านมีมนุษย์สัมพันธ์อันล้ำเลิศ
ศิษย์ชูเชิดด้วยรักเป็นหนักหนา
เป็นปูชนียบุคคลควรบูชา
ชาว”เทคนิค”ถ้วนหน้าต่างชื่นชม
...........................................
แด่ความหยาบคาย

คุยกันด้วยภาษากักขฬะ
ไม่ลดละเลิกอะไรทั้งสิ้น
ภาษาเลวใจเลวต่ำกว่าดิน
ไร้สิ้น ภาษาคนดี
หัวใจกระด้างและต่ำ
ใครพบก็จำหลีกหนี
เขากลัวเขาเกลียดสิ้นดี
กิริยาพาทีแสนเลว
ประพฤติแสนต่ำสิ้นดี
พาทีก็แสนแหลกเหลว
ใฝ่ต่ำใฝ่ทำแต่ความเลว
ชีวิตแหลกเหลวตลอดกาล
ขอเทิดคนดีทั้งหลาย
จงละลายความชั่วจงผลาญ
ให้ความดีคงอยู่นานแสนนาน
จงผลาญวาจาชั่วสิ้นไป
...........................................
แด่ผู้ปิดทองหลังพระ

ยืนหน้าชั้นขาสั่นตาลาย
ตั้งแต่เช้าจนสายจนค่ำ
วันแล้ววันเล่าที่ทำ
เหน็ดเหนื่อยไม่พร่ำนำพา
มือเขียนปากก็สอนไป
ไม่เคยจะใฝ่ฝันหา
ยศตำแหน่งหรือชั้นเงินตรา
ไม่เคยพึ่งพาสื่อใดใด
ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี
พาทีสอนศิษย์ให้ได้
ถ้าสอนอย่างไรลงไป
ทำได้ตามที่สอนจริง
ไม่สอนอีกอย่างทำอย่าง
อบายมุขต่างต่างไม่สุงสิง
อุปกรณ์การเรียนมีค่าจริง
ทุกสิ่งก็คือตัวเรา
ไม่คดไม่คอรัปชั่น
เพราะมันทำให้อับเฉา
ไม่เคยเสนอหน้าเรา
ให้เขาเห็นว่าเราดี
จะปิดทองหลังพระต่อไป
ไม่ทุกข์ไม่วุ่นวายหน่ายหนี
เมืองไทยสุขเกษมเปรมปรี
คนปิดทองหลังพระมีอยู่จริง
...........................................
ถ้าท่านเป็นผู้นำ หรือผู้บริหาร
ท่านต้องตอบคำถามเขาให้ได้
กรณีที่ท่านสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงาน
แล้วมีคำถาม ๆ ท่านว่า
ถ้าทำแล้วจะมีผลดีอย่างไร
ถ้าไม่ทำจะมีผลเสียอย่างไร
คำถามเช่นนี้ลูกน้องบางคนไม่กล้าถาม
แต่ผู้บริหารควรจะชี้แจงได้
เมื่อมีการมอบหมายงาน
...........................................
“บางคนรู้จักคนทั้งโลก แต่ไม่รู้จักตัวเอง”
“บางคนทำได้ทุกอย่าง ยกเว้นทำความดี”
“คนที่น่าสงสารคือคนที่ยกย่องคนเลว และน่าสงสารที่สุดถ้าเหยียดหยาดคนดี”
“คนไม่รู้ จะพูดได้ทุกอย่าง คนที่รู้จะพูดได้เฉพาะเรื่องที่ตนรู้เท่านั้น”
...........................................

ที่มา: เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ ของ ณรงค์ วงศาเลิศ

>>ช่างคือ


“ช่างคือผู้ทำงานใช้ฝีมือ หมายความถึงผู้ใช้ฝีมือเป็นบริการแก่ผู้อื่น
เช่น ช่างซ่อมวิทยุ ช่างเครื่องยนต์ ประเภทหนึ่ง กับผู้ใช้ฝีมือผลิตสิ่งต่างๆ เป็นสินค้า
เช่น ช่างทอผ้า ช่างทำรองเท้า อีกประเภทหนึ่ง
ช่างทุกประเภทเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมือง และของทุกคน
เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัย และใช้บริการหรือสิ่งต่างๆ
ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน”
(พระราชดำรัสในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพและแข่งขันฝีมือช่าง ของสโมสรโรตารี่
กรุงเทพฯ ใต้ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2513)
.................................................................................
"Technicians are those who use their skill. They are people who use their skill
To serve others, for example, radio repairmen and machinists,
and good-producing craftsmen such as cloth weavers and shoe repairers.
All kinds of technicians constitute an essential mechanism in the life of
The nation and the people for everyday in our life we use and depend on
Services and goods from the skill of technicians”
(His Majesty the King’s speech in the opening ceremony of the Vocational Guidance And technician Competition Fair organized by the Rotary Club of
South Bangkok at Lumphini Park,Bangkok on March 2 1970)

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

>>ต้นไม้ประจำวิทยาลัย

ต้นไม้ประจำวิทยาลัย

ชื่อทางวิทยาศาสตร์:Lagerstroemia calyculata Kurz
ชื่อพื้นเมือง: เปื๋อยด้อง เปื๋องนา(ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง(แพร่), ตะแบกไข่(ราชบุรี,ตราด), ตะแบกนา ตะแบก(ภาคกลาง,นครราชสีมา), กระแบก(สงขลา), บางอตะมะกอ(มลายู, ยะลา, ปัตตานี), บางอยะมู(มลายู, นราธิวาส), ตราแบกปรี้(เขมร)
ชื่อสามัญ: ตะแบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของใบและดอกคล้ายคลึงกับอินทนิลและเสลาเพียงแต่ใบและดอกของตะแบกเล็กกว่า ดอกตะแบกออกเป็นช่อใหญ่ ช่อเดียวกันมีทั้งดอกสีม่วงและสีขาว เป็นดอกที่กำลังจะโรย เวลาออกดอกจะทิ้งใบ เมื่อดอกโรยแล้วจะมีลูกกลมๆ ตะแบกอินทนิล เสลา ลักษณะคล้ายคลึงกันมาก การดูว่าต้นไหนเป็นต้นตะแบกต้องดูที่ลำต้น ลักษณะของต้นตะแบก ต้นจะเกลี้ยงขาว มีสะเก็ดแตกออกคล้ายต้นฝรั่ง โคนต้นมีรากฟูขึ้นมาจนเห็นชัด ออกดอกในฤดูแล้ว ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
          สรรพคุณทางสมุนไพร เปลือกปรุงเป็นยาแก้บิด ใช้เปลือกต้นครึ่งกำมือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือค่อนแก้วดื่มๆเฉพาะน้ำ จะช่วยให้อาการทุเลาขึ้น
          ตะแบกเป็นอีกหนึ่งในหลายๆ พรรณไม้ที่ถูกจารึก กล่าวถึงในงานประพันธ์ทางวรรณคดีไทย อาทิ
“ กำจัดสลัดไดขึ้น          บนพื้นภูภู่เขาสูง
แคคางยางยูงดูง                ต้นกระแบกแปลกกันบานฯ
สลัดไดกำจัดต้น            หางยูง
บนภูภู่เขาสูง          หย่งหยึ้ง
แคคางยางยูงดูง          ตรงโตรด
ตะแบกแปลกกันขึ้น          เกลื่อนกลุ้มบานไสวฯ ”
(กาพย์ห่อโคลงประพาสธานทองแดง พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
“ รุ่งเช้าเข้าป่ากว้าง          ทางโขลง
คลองเก่าเท่าลำกระโดง          โป่งช้าง
ซ้ายขวาป่าสมอโมง          ไม้อุโลก โมกเอย
กระแบกกระเบาเสลาสล้าง          สลับต้นคนทาฯ”
“ดึกสามยามสงัดครึ้ม          งึมเงา
เป็นเยียบเงียบของเขา          โขดเงื้อม
มือคลุ้มพุ่มกระแบกกระเบา          บังปิด มิดเอย
แวบวัลลับแลเหลื้อม          ปรอดหรอนว่อนเวียรฯ”
“โพธิ์พระยาท่าตลิ่งล้วน          ล้อเกวียน
โพธิ์ไผ่ไม้เต็งตะเคียน          ตะขบบ้าง
ซึกซากกระบากกระเบียน          กระเบากระแบก กระบกแฮ
เสลาสลอดสลับสล้าง          เหล้าไม้ใกล้กระสินธุฯ”
(โคลงนิราศสุพรรณ บทประพันธ์ของสุนทรภู่)

          ตะแบก ณ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี คือ ลานร่มเงาที่ยืนตระหง่านเรียงรายเป็นทิวแถวแผ่เงาคลุมที่นั่งพักพิงของครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษาหลายพันชีวิต มีข้อควรระลึกอยู่เสมอว่า คราใดที่ดอกตะแบกแตกช่อสีม่วงงดงามและร่วงโรย ช่วงเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี....ครานั้นคือฤดูกาลของการสอบปลายภาคเรียนซึ่งเป็นเวลากาลในการอำลาของนายช่างลูกวิษณุกาญจน์ที่ต้องออกไปเผชิญกับโลกกว้างที่ท้าทายอยู่เบื้องหน้า นั่นเอง
(ข้อมูลประกอบการเขียน: ชวลิต ดาบแก้วและสุดาวดี เหมทานนท์(2542) พรรณไม้ในวรรณคดีไทย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์)

>>วิทยาลัยเทคนิคกาญจน์

                ปรัชญาวิทยาลัย
      “ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม ล้ำวิชา พัฒนาฝีมือ ”

                สีประจำวิทยาลัย
      น้ำเงิน – ขาว

                วิสัยทัศน์
      “ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี มุ่งมั่นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษาในภูมิภาค ผลิตกำลังคนให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพที่พึ่งประสงค์ ”

                พันธกิจ
      1. ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาในภูมิภาคตั้งแต่ระดับฝีมือ เทคนิค และเทคโนโลยี ให้มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญในวิชาชีพ มีคุณภาพมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน
      2. ให้บริการวิชาการ ส่งเสริมนวัตกรรมและการวิจัย เทคโนโลยีแก่ชุมชนและท้องถิ่น อย่างกว้างขวางและหลากหลาย
      3. ฝึกอบรมอาชีพให้กับประชาชนในท้องถิ่นอย่างเสมอภาคและสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของทุกคน
      4. ทำนุบำรุง รักษา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของชาติ และท้องถิ่น ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

>>การวัดไดโอด

          ก่อนที่เราจะทำการวัดไดโอดว่าตัวนำดีหรือเสียนั้น จะต้องรู้โครงสร้างของไดโอดก่อน จึงใคร่ขอกล่าวเกี่ยวกับโครงสร้างและทฤษฏีของไดโอด
          ไดโอดประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N นำมาต่อกัน

          โดยจากรูปจะเกิด 1 รอยต่อ มีขาที่ออกจากสารกึ่งตัวนำชนิด P เรียกว่า อาโนด (A) และขาที่ออกจากสารกึ่งตัวนำชนิด N เรียกว่า คาโถด (K)
          ดังนั้นไดโอดทำงานได้ โดยการป้อนไฟเข้า วิธีการป้อนไฟเรียกว่า การไบอัส
          การไบอัสมี 2 วิธี คือ ไบอัสตรงและไบอัสกลับ
          1.ไบอัสตรง คือการป้อนไฟบวก (+) เข้าที่ขาอาโนด (A) และป้อนไฟลบ (-) เข้าที่ขาคาโถด (K)

          2.ไบอัสกลับ คือการป้อนไฟลบ (-) เข้าที่ขาคาโถด (K) และป้อนไฟบวก (+) เข้าที่ขาอาโนด (A)

          เมื่อรู้พื้นฐานทฤษฏีและโครงสร้างภายใน ดังนั้นวิธีการวัดไดโอดคือ
          1.ตั้งมิเตอร์ย่านโอห์ม RX1 หรือ RX10

          2.นำไดโอดมาวัด โดยตามหลักการตามทฤษฏี เมื่อวัดมิเตอร์จะขึ้น 1 ครั้ง และเมื่อกลับไดโอดเข็มมิเตอร์จะไม่ขึ้น 1 ครั้ง ถือว่าไดโอดใช้งานได้

          หมายเหตุ
          1.มิเตอร์ขั้ว + ไฟที่จ่ายคือไฟลบ และมิเตอร์ขั้ว - ไฟที่จ่ายคือไฟบวก