วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

>>การวัดไดโอด

          ก่อนที่เราจะทำการวัดไดโอดว่าตัวนำดีหรือเสียนั้น จะต้องรู้โครงสร้างของไดโอดก่อน จึงใคร่ขอกล่าวเกี่ยวกับโครงสร้างและทฤษฏีของไดโอด
          ไดโอดประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N นำมาต่อกัน

          โดยจากรูปจะเกิด 1 รอยต่อ มีขาที่ออกจากสารกึ่งตัวนำชนิด P เรียกว่า อาโนด (A) และขาที่ออกจากสารกึ่งตัวนำชนิด N เรียกว่า คาโถด (K)
          ดังนั้นไดโอดทำงานได้ โดยการป้อนไฟเข้า วิธีการป้อนไฟเรียกว่า การไบอัส
          การไบอัสมี 2 วิธี คือ ไบอัสตรงและไบอัสกลับ
          1.ไบอัสตรง คือการป้อนไฟบวก (+) เข้าที่ขาอาโนด (A) และป้อนไฟลบ (-) เข้าที่ขาคาโถด (K)

          2.ไบอัสกลับ คือการป้อนไฟลบ (-) เข้าที่ขาคาโถด (K) และป้อนไฟบวก (+) เข้าที่ขาอาโนด (A)

          เมื่อรู้พื้นฐานทฤษฏีและโครงสร้างภายใน ดังนั้นวิธีการวัดไดโอดคือ
          1.ตั้งมิเตอร์ย่านโอห์ม RX1 หรือ RX10

          2.นำไดโอดมาวัด โดยตามหลักการตามทฤษฏี เมื่อวัดมิเตอร์จะขึ้น 1 ครั้ง และเมื่อกลับไดโอดเข็มมิเตอร์จะไม่ขึ้น 1 ครั้ง ถือว่าไดโอดใช้งานได้

          หมายเหตุ
          1.มิเตอร์ขั้ว + ไฟที่จ่ายคือไฟลบ และมิเตอร์ขั้ว - ไฟที่จ่ายคือไฟบวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น